ช่างยนต์ทำหน้าที่อะไรบ้าง หน้าที่หลักของช่างยนต์คือ การวินิจฉัย ดูแล ซ่อมแซมและบำรุงเครื่องยนต์ ซึ่งในปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย คนที่จะเป็น ช่างยนต์ก็ต้องคอยศึกษาติดตามเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีความรู้เกี่ยวกับ อุปกรณ์ อะไหล่ ที่จะใช้ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์นั้นๆ มีวิธีแนะนำให้ลูกค้าฟังเกี่ยวกับ เรื่องของการรักษา อุปกรณ์หลังจากที่ติดตั้งและซ่อมแซมเสร็จ และคนเป็นช่างต้องคอยเรียนรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆหาความรู่ไหม่ๆให้ตัวเองอยู่เสมอคะ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ที่จะเข้ามาใช้บริการกับตัวเอง
ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าผู้คน ส่วนใหญ่มักจะซื้อรถไว้เป็นของตนเอง เพื่อที่อำนวยความสะดวกสบายให้ตัวเองในการเดินทางไปทำงานหรือไปเที่ยว ดังนั้นหนึ่งในอาชีพที่มีความต้องการมากขึ้นตามไปด้วยก็คืออาชีพช่างยนต์ เพราะเป็นอาชีพที่จะมาช่วยในการดูแลรถยนต์ รวมไปถึงยานพาหนะอื่น ๆอีกด้วยคะ เรามาดูกันว่า มีเหตุผลอะไรบ้างที่จะต้องเลือก เรียน เกี่ยวกับ อาชีพช่างยนต์ และต้องมีความรู้เรื่องอะไรบ้างซึ่งจะช่วยให้เรานำสิ่งที่เราเรียนมาไปประกอบอาชีพได้คะ
งานช่างยนต์ แบ่งออกได้ตามลักษณะงานดังนี้ นะคะ
1.งานเครื่องยนต์เล็ก ทำงการซ่อมแซมเครื่องยนต์ที่มีขนาดเล็ก เช่น ปั้มน้ำ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ
2.งานเครื่องยนต์หนัก ทำการซ่อมแซมเครื่องยนต์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก ฯลฯ
ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้นะคะ
ความรู้และทักษะในการซ่อมและบำรุงยานยนต์
ทักษะในการวิเคราะห์และวินิจฉัยปัญหา
ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อซ่อมบำรุงยานยนต์
ทักษะการสื่อสาร เพื่อสื่อสารกับทีมช่าง แผนกต่างๆ และลูกค้า
ต้องมีสุขภาพแข็งแรง คล่องแคล่ว
มีใจรักที่จะอยู่กับเครื่องยนต์กลไก ที่ละเอียดและซับซ้อน
ความสามารถของช่างจะต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที เมื่อลูกค้าถามและต้องการคำแนะนำคะ และทำงานภายในเวลาที่กำหนดต่อความต้องการของลูกค้าได้
เรามาดูกันว่า ทำไมถึงต้องเรียนช่างยนต์
1.ผลตอบแทนที่ช่างประจำสถานประกอบการต่างๆ ที่จะได้รับเริ่มต้นประมาณ 10,000 – 30,000 บาท ต่อเดือน
2.มีสวัสดิการอื่นๆอีก เช่น ค่ารักษาพยาบาล ทุนการศึกษาบุตรหลาน วันลาพักร้อน โบนัสปลายปี จะขึ้นอยู่กับสถานประกอบการนั้นๆ
3 .ช่างยนต์สามารถสร้างลูกค้าประจำให้กับตัวเองได้ สร้างไว้ใจในบริการของตัวช่างเอง และแวะเวียนมาใช้บริการอยู่เสมอ ซึ่งบางครั้งอาจจะได้รับค่าบริการส่วนตัวจากลูกค้าโดยไม่ผ่านบริษัทคะ
4.รถยนต์ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิตของผู้คนจำนวนมาก เพราะสามารถอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทาง ระยะใกล้ไกล ทำให้เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเสมอคะ
5 .เราสามารถพัฒนาฝีมือความรู้จนเกิดความชำนาญ โดยการได้เข้าฝึกอบรมกับทางบริษัท มีโอกาสให้ไปพบเจอประสบการณ์ ใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติม ซึ่งจะมาช่วยเติมความสามารถของเราให้เก่งยิ่งขึ้นคะ
สิ่งที่ช่างยนต์ ควรมีความรู้เพิ่มเติม
ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเครื่องยนต์ และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ พื้นฐานของการเป็นช่างยนต์คือมีความรอบรู้เรื่องเครื่องยนต์ของยานพาหนะต่าง ๆ แต่หากต้องการเป็นช่างเฉพาะทางเราก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับยานพาหนะอื่น ๆ เช่น รถยนต์ระบบผสมผสาน รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถไฟฟ้าได้คะ มีความรู้เรื่องระบบไฟฟ้าความสามารถในการดัดแปลง และระบบคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมยานยนต์อย่างละเอียด ช่างยนต์ควรมีความกระตือรือร้นในการหาความรู้ใหม่ ๆ ในด้านเครื่องยนต์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ และเครื่องมือใหม่ ๆ ที่อาจจะช่วยให้การทำงานดีขึ้นและรวดเร็ว ต้องมีร่างกายที่แข็งแรง การเป็นช่างยนต์ต้องใช้งานร่างกายค่อนข้างหนัก จะต้องมีความคล่องแคล่วด้วย เพราะในบางครั้งจะต้องยกเครื่องยนต์หนัก ๆ ในระหว่างการทำงานด้วยคะ
ดังนั้นช่างยนต์ก็ควรจะมีทักษะด้านการดัดแปลง ครื่องยนต์ และโปรแกรมใหม่ ๆ ตลอดเวลา ช่างยนต์ต้องสามารถสื่อสารกับผู้คนได้ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการทราบรายละเอียดปัญหาเครื่องยนต์ และต้องการทราบความคืบหน้าระยะเวลาการทำ และคนเป็นช่างควรมีการสื่อสาร การพูดดี กับผู้คนจะช่วยให้ลูกค้าประทับใจมากขึ้นคะ
สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
การทำงานในสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ทำงานในพื้นที่แคบ เช่น ใต้ท้องรถ ทำงานสถานที่ที่มีอากาศร้อนทำให้ต้องปรับตัวในการทำงานอยู่เสมอ การบาดเจ็บจากการยก ประกอบชิ้นส่วนของรถยนต์ที่มีน้ำหนักมาก การสูดดมสารเคมีที่ใช้ในการดูแลรักษายานยนต์
เป็นไงบ้างคะ กับความรู้ที่ว่า มีเหตุผลอะไรบ้างที่จะเลือกเรียน ช่างยนต์ ช่างยนต์มีหน้าที่อะไรบ้าง การใช้ความรู้ ความสามารถ โอกาส ที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับงานด้านช่าง ช่องทางการได้หาประสบการณ์ เช่นการได้ออกฝึกอบรม ที่ทางบริษัทจัดให้ เงินเดือน สวัสดิการต่างๆที่จะได้ เมื่อได้ทำงานในบริษัทเกี่ยวกับช่างยนต์คะ หวังว่า บทความนี้จะช่วยให้ข้อมูลกับคนที่ยังลังเลที่จะเลือกเรียนสาย อาชีพนี้อยู่นะคะ